วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิติทุกชนิดต่างก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หลบหลีกจากศัตรูู จากภัยจากธรรมชาติ เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างมีความสุขสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีธรรมชาติในการรักษาและดำรงเผ่าพันธุ์ของตนเองเอาไว้ สิ่งที่จะช่วยในการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็คือ การสืบพันธุ์ ซึ่งสามารถแบ่ง
ได้ 2 ประเภทคือ
ได้ 2 ประเภทคือ
- การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นการสืบพันธ์ุืที่เกิดจากการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมีย
- การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นวิธีการสืบพันธุ์อย่างง่ายของสิ่งมีชีวิต เช่น การแบ่งเซลล์ การแตกหน่อ การงอกใหม่ การปักชำ การติดตา
เป็นต้น

วงของดอกไม้
การแบ่งวงของดอกไม้ที่เรียงตัวกันอยู่โดยนับจากด้านนอกเข้ามาสามารถแบ่งได้ด้ังนี้
1. วงเคลิกซ์ ( Calyx ) วงนอกสุดซึ่งเป็นวงของกลีบรองหรือกลีบเลี้ยง ( Sepals ) ส่วนใหญ่แล้วมีสีเขียว กลีบเลี้ยง อาจอยู่แยกกัน เรียกว่า พอลิเซพาลัส ( Polysepalous )หรือ อะโพเซพาลัส ( Aposepalous ) เช่น กลีบเลี้ยงของดอกบัวสายและพุทธรักษา ถ้ากลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน เรียกว่า ซีนเซพาลัส ( Synsepalous ) หรือแกโมเซพาลัส ( Gamosepalous ) เช่น กลีบเลี้ยงของดอกชบา ดอกบานบุรี ดอกแค กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจมีสีต่าง ๆ เพื่อ ล่อแมลงให้ช่วยถ่ายละอองเกสร นอกจากนี้ใต้กลีบเลี้ยงของพืชพวกชบา และพู่ระหง ยังมีกลีบสีเขียวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ริ้วประดับ ( Epicalyx ) อยู่ด้วย2. วงคอโรลลา ( Corola ) วงที่สองหรือวงถัดเข้าไปเป็นวงของกลีบดอก วงนี้มีสีของกลีบดอกแตกต่างกันขึ้นกับรงควัตถุ เช่น แคโรทีนอยด์ ทำให้มีสี เหลืองหรือสีแสด แอนไทไซยานิน (Anthocyanthins ) ทำให้กลีบดอกมีสีม่วงหรือสีน้ำเงิน กลีบดอกสีขาวเพราะมีแอนโทแซนทิน( Anthoxanthins ) กลีบดอกอาจเชื่อมติดกัน เรียกว่า แกโมพาทาลัส ( Gamopetalous ) หรือซีมเพทาลัส ( Sympetalous ) ตัวอย่างเช่น ดอกต้อยติ่ง ดอกมะเขือ ดอกลำโพง ดอกทานตะวัน ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง
3. วงแอนดรีเซียม ( Androcium ) วงที่สามเป็นวงของเกสรตัวผู้ ( Stamens หรือ Microsporophylls ) วงนี้เรียกว่า แอนดรีเซียม ( Androcium ) เกสร ตัวผู้แต่ละอันประกอบด้วยก้านเกสรตัวผู้ ( Filament ) ชูอับเรณู ( Anthers ) ภายในมีถุงเรณู ( Pollen sacs หรือ Microsporangia ) อยู่ 4 ถุง ละอองเรณูมีขนาดเล็กจำนวนมากและพืชแต่ละชนิดมีละอองเรณูที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
4. วงจินนีเซียม ( Gynaecium ) วงที่สี่หรือวงในสุดเป็นวงของเกสรตัวเมีย ( Pistil หรือ Carpel หรือ Megasporophyll ) อาจมีเกสรตัวเมียอันเดียว หรือ หลายอันรวม เกสรตัวเมียแต่ละอัน เรียก คาร์เพล ( Carpel )
พรรณไม้มงคลทิศ
ตามมงคลความเชื่อของคนไทย ถ้าผู้ใดปรารถนาจะปลูกต้นไม้ให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้เกิดสิริมงคลแก่บ้านเรือน ท่านให้ปลูกต้นไม้ต่างๆ ตามทิศที่กำหนดจะเป็นมงคล
ทิศตะวันออก - ไผ่ , มะพร้าว
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ - ยอ , ต้นสารภี
ทิศใต้ - มะม่วง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ - ชัยพฤกษ์ , สะเดา , ขนุน , พิกุล
ทิศตะวันตก - มะขาม , มะยม
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ - มะกรูด , มะนาว
ทิศเหนือ - พุทรา , ว่าน
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ - ทุเรียน
ดอกรัก - แทนความรักระหว่างชาย - หญิง
ดอกกุหลาบ - กุหลาบขาว คือความเคารพ ชมพูและเหลือง คือการเยี่ยมเยียน
สีแดง คือความรัก
ดอกจำปา - ห้อยหูทั้งสองข้าง แสดงความรัก
ว่านมหาลาภ - มีโชคมีลาภแก่เรือน
ว่านมหาโชค - โชคลาภ เมตตามหานิยม ค้าขายดี
ว่านกวักโพธิ์เงิน-โพธิ์ทอง - มีโชคลาภ เป็นสิริมงคลด้านค้าขาย
ชัยพฤกษ์ - หมายถึง มีโชคชัย
ราชพฤกษ์ - หมายถึง เป็นใหญ่มีอำนาจ
ทองหลาง - หมายถึง มีเงิน มีทอง
ไผ่สีสุก - หมายถึง มีความสุข
กันเกรา - หมายถึง ป้องกันภัย
ทรงบาดาล - หมายถึง ความมั่นคง
สักทอง - หมายถึง ศักดิ์สิทธิ์สมปรารถนา
พะยุง - หมายถึง การพยุงฐานะให้สูงขึ้น
ขนุน - หมายถึง หนุนให้ดีขึ้น








ความหมาย นัยดอกไม้
ดอกไม้บางชนิดมีความหมายในตัวเอง เป็นสัญญาลักษณ์ทั้งของไทยและสากล

สีแดง คือความรัก

มงคลว่านไทย
ว่านพืชมีหัวอยู่ใต้ดิน มีอยู่กว่า 3000 ชนิดในเมืองไทย ซึ่งนิยมปลูกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยคุณประโยชน์ทางยา และความเป็นสิริมงคล ตลอดจนความเชื่อในด้านป้องกันและคุ้มครอง


วัฒนธรรมดอกไม้ไทย
ดอกไม้กับวิถีชีวิตของไทย ผูกพันกันมานาน จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เช่น ชัยพฤกษ์ หรือดอกคูน ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494
กล้วยไม้ - มีความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
ดอกไม้ที่เป็นอาหาร - ใช้ประกอบอาหารตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น
ดอกแค ดอกขี้เหล็ก หัวปลี


ดอกแค ดอกขี้เหล็ก หัวปลี
ไม้มงคลในการปลูกเรือน
ไม้มงคล 9 ชนิด ตามคติความเชื่อของไทยโบราณในการก่อสร้างอาคาร หรือประดิษฐานถาวรวัตถุต่างๆ นิยมมีพิธีวางศิลาฤกษ์ โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิด ปักกับพื้นดินตามความหมาย








ชนิดของดอกไม้
แบ่งตามเพศ
- ดอกสมบูรณ์เพศ คือ ดอกไม้ที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน เช่น ชบา มะเขือ กุหลาบ บัว ถั่ว มะลิ เฟื่องฟ้า อัญชัน ข้าว ต้อยติ่ง แค ผักบุ้ง เป็นต้น
- ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือ ดอกไม้ที่แต่เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มะยม ตำลึง แตงกวา เงาะ ฟักทอง มะพร้าว บวบ มะระ มะเดื่อ ข้าวโพด เป็นต้น
แบ่งตามส่วนประกอบ
- ดอกสมบูรณ์ คือดอกไม้ที่มีส่วนประกอบครบทั้ง 4 อย่างใน 1 ดอก ได้แก่ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย กลีบเลี้ยง กลีบดอก เช่น มะลิ อัญชัน พริก แค ต้อยติ่ง การเวก ชงโค กุหลาบ เป็นต้น
- ดอกไม่สมบูรณ์ คือดอกไม้ที่ไม่ได้มีส่ววนประกอบครบทั้ง 4 อย่างใน 1 ดอก อาจขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งไป เช่น ข้าว ข้าวโพด หญ้า แตงกวา มะระ มะละกอ จำปา จำปี บานเย็น มะยม มะพร้าว เป็นต้น
- ดอกสมบูรณ์ต้องเป็นดอกสมบูรณ์เพศเสมอ แต่ดอกสมบูรณ์เพศอาจไม่เป็นดอกสมบูรณ์
- ดอกไม่สมบูรณ์เพศต้องเป็นดอกไม่สมบูรณ์เสมอ แต่ดอกไม่สมบูรณ์อาจเป็นดอกสมบูรณ์เพศ
ส่วนประกอบของดอกไม้
ดอกไม้มีส่วนประกอบหลักอยู่ 4 อย่าง
1.กลีบเลี้ยง
2.กลีบดอก
3.เกสรตัวผู้
4.เกสรตัวเมีย
1.กลีบเลี้ยง
2.กลีบดอก
3.เกสรตัวผู้
4.เกสรตัวเมีย
ดอกไม้
ดอกไม้ คือโครงสร้างการขยายพันธุ์ของพืชดอก (พืชในส่วน Magnoliophyta หรือเรียกว่า angiosperm) การทำงานเชิงชีววิทยาของดอกไม้มักจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยกลไกแบบสเปิร์มกับไข่ การปฏิสนธิของดอกไม้สามารถเกิดได้ข้ามดอก (การรวมตัวของสเปิร์มและไข่ที่มาจากดอกอื่นหรือต้นอื่นในกลุ่มประชากร) หรือเกิดในตัวเองก็ได้ (การรวมตัวของสเปิร์มและไข่ในดอกเดียวกันนั้น) ดอกไม้บางชนิดผลิตส่วนแพร่พันธุ์ (diaspore) โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกไม้จะมีอับสปอร์ (sporangia) เป็นแหล่งสร้างแกมีโทไฟต์ ดอกไม้คือส่วนที่เกิดเป็นผลไม้และเมล็ด ดอกไม้หลายชนิดวิวัฒนาการตัวเองเพื่อดึงดูดสัตว์เช่นแมลง เพื่อให้เป็นตัวช่วยส่งถ่ายละอองเรณู
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)