วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

วงของดอกไม้

  การแบ่งวงของดอกไม้ที่เรียงตัวกันอยู่โดยนับจากด้านนอกเข้ามาสามารถแบ่งได้ด้ังนี้
 1. วงเคลิกซ( Calyx ) วงนอกสุดซึ่งเป็นวงของกลีบรองหรือกลีบเลี้ยง ( Sepals )  ส่วนใหญ่แล้วมีสีเขียว กลีบเลี้ยง อาจอยู่แยกกัน เรียกว่า พอลิเซพาลัส       ( Polysepalous )หรือ อะโพเซพาลัส ( Aposepalous ) เช่น กลีบเลี้ยงของดอกบัวสายและพุทธรักษา ถ้ากลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน เรียกว่า ซีนเซพาลัส       ( Synsepalous ) หรือแกโมเซพาลัส ( Gamosepalous ) เช่น กลีบเลี้ยงของดอกชบา ดอกบานบุรี ดอกแค กลีบเลี้ยงของพืชบางชนิดอาจมีสีต่าง ๆ       เพื่อ  ล่อแมลงให้ช่วยถ่ายละอองเกสร นอกจากนี้ใต้กลีบเลี้ยงของพืชพวกชบา และพู่ระหง ยังมีกลีบสีเขียวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ริ้วประดับ ( Epicalyx )       อยู่ด้วย
 2.  วงคอโรลลา ( Corola ) วงที่สองหรือวงถัดเข้าไปเป็นวงของกลีบดอก วงนี้มีสีของกลีบดอกแตกต่างกันขึ้นกับรงควัตถุ เช่น แคโรทีนอยด์ ทำให้มีสี       เหลืองหรือสีแสด แอนไทไซยานิน (Anthocyanthins ) ทำให้กลีบดอกมีสีม่วงหรือสีน้ำเงิน กลีบดอกสีขาวเพราะมีแอนโทแซนทิน( Anthoxanthins )       กลีบดอกอาจเชื่อมติดกัน เรียกว่า แกโมพาทาลัส ( Gamopetalous ) หรือซีมเพทาลัส   ( Sympetalous ) ตัวอย่างเช่น ดอกต้อยติ่ง   ดอกมะเขือ       ดอกลำโพง ดอกทานตะวัน ผักบุ้ง ตำลึง ฟักทอง
3.   วงแอนดรีเซียม ( Androcium ) วงที่สามเป็นวงของเกสรตัวผู้ ( Stamens หรือ Microsporophylls ) วงนี้เรียกว่า แอนดรีเซียม ( Androcium ) เกสร       ตัวผู้แต่ละอันประกอบด้วยก้านเกสรตัวผู้ ( Filament ) ชูอับเรณู ( Anthers ) ภายในมีถุงเรณู ( Pollen sacs หรือ  Microsporangia ) อยู่ 4 ถุง        ละอองเรณูมีขนาดเล็กจำนวนมากและพืชแต่ละชนิดมีละอองเรณูที่มีรูปร่างแตกต่างกัน
4.  วงจินนีเซียม ( Gynaecium ) วงที่สี่หรือวงในสุดเป็นวงของเกสรตัวเมีย ( Pistil หรือ Carpel หรือ Megasporophyll ) อาจมีเกสรตัวเมียอันเดียว หรือ      หลายอันรวม  เกสรตัวเมียแต่ละอัน เรียก คาร์เพล ( Carpel )  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น